วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้เล็กๆน้อย ในวันนี้จะมานำเสนอในหัวข้อเรื่อง ระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน




1. ลักษณะของข้อมูลที่ดีมีองค์ประกอบ 4 ประการด้วยกัน
       1.1 มีความถูกต้อง (Accuracy) ข้อมูลมีความถูกต้องตามความเป็นจริง ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงของข้อมูลได้ ผู้เก็บข้อมูลต้องไม่มีความเอนเอียง ไม่ชี้นำไปในทางใดทางหนึ่ง
       1.2 ความสมบูรณ์ (Completeness) ข้อมูลมีความครบถ้วน ทั้งรายการและจำนวน ทุกด้านข้อมูลต้องไม่ขาด หรือไม่เกิน
       1.3 ทันต่อเวลา (Timelines) ข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัย (Up to date) และทันตามกำหนดเวลาที่จะนำไปใช้งาน
       1.4 ความเหมาะสมกับการประมวนผล ข้อมูลที่ได้มาไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด้ก็ตาม เมื่อจะนำมาประมวนผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ สามารถบันทึกข้อมูลเข้าไปได้


2. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล และตัวอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ (Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
1. ข้อมูล (Data) ข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ
เบ็ดเสร็จ (Integrate) ฐานข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มต่าง ๆ ไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อลดข้อมูลซ้ำซ้อนระหว่างแฟ้มใช้ร่วมกันได้ (Share) ข้อมูลแต่ละชิ้นในฐานข้อมูลสามารถนำมาแบ่งใช้กันได้ระหว่างผู้ใช้ต่าง ๆ ในระบบ
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบด้วย อุปกรณ์บันทึกข้อมูลเช่น จานแม่เหล็ก , I/O device , Device controller , I/O channels , หน่วยประมวลผล และหน่วยความจำหลัก
3. ซอฟต์แวร์ (Sorftware) ตัวกลางเชื่อมระหว่างฐานข้อมูลและผู้ใช้คือ DBMS เป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดของระบบฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังมี Utility , Application Develoment tool , Desisn aids , Report writers , ect.
4. ผู้ใช้ (Users) มี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
Application Programmer เขียนโปรแกรมประยุกต์
End Users ผู้ใช้ที่อยู่กับ Online terminal เข้าถึงข้อมูลโดยผ่านโปรแกรมประยุกต์ หรือผ่านภาษาเรียกค้น (Query Language)
Data Addministrator & Database Administrator



3. ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล
 1.ทำให้ข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้
2.สามารถควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลได้ดี
3.การพัฒนาและบำรุงรักษา สามารถกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานได้
4.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
5.สามารถหลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
6.สามารถรักษาความถูกต้องของข้อมูลในระบบ
7. มีความเป็นอิสระของข้อมูล
8. มีทฤษฎีที่สนับสนุนการทำงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์



4. ความหมายของระบบสารสนเทศ
4.1  MIS  (Management Information Systems)  คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DPของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยน ข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน
 
4.2  DSS (Decision Support Systems) คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ   เป็นระบบที่ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการตัดสินใจ โดยการนำการประมวลผลในระบบMISมาประกอบกาานำ สารสนเทศจากภายนอกมาประกอบในการสร้างเครื่องมือ
 
4.3  ES (Expert Systems-ES) คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ  เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทำหน้าที่ทำการวิเคราะห์ง านเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ในระดับ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะจะต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์เฉพาะเรื่องนั้นๆ มาทำการสร้างฐานข้อมูลก่อน ระบบนี้จึงจำเป็น ต้องอาศับบุคลากรที่มีความรู้เฉพ ะ ด้านในการทำงาน เช่นงานด้านการวินิจฉัย ทางการแพทย์ การพยากรณ์อากาศ การส่งดาวเทียม งานซ่อม เป็นต้น
 
4.4  DP(Data Processing System ) คือ ระบบประมวลผลข้อมูล  เป็นระบบการประมวลผลข้อมูลประจำวันในลักษณะของการจัดการ เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รายงานของงาน ประจำวัน เช่น รายงานยอดการเช่าของวีดีโอของทุกวัน ก่อนทำการปิดบัญชีประจำวัน

 4.5  EIS  (Executive Information System) คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบที่มีหลักการทำงานเหมือนกับระบบ DSSที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุน ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารแต่ในระบบนี้จะมีความแตกต่างกันในส่วนของขนาด ของหน่วยงาน ซึ่งขนาดหน่วยงาน ทีใหญ่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็วกว่า และทำการ เรียกข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ที่ต้องการซึ่งมีการเชื่อมโยงของระบบ เครือข่าย ใยแมงมุมทั่วโลก (Internet System )


5. ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ 
5.1  ความแตกต่างของMIS กับ DP
MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก แต่ DP จะเป็นระบบประมวลผลข้อมุลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด

5.2 ความแตกต่างของ DSS และ MIS
1.ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบให้สามารถจัดการเฉพาะกับปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างหรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน
2.ระบบเอ็มไอเอสจะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลังหรือแม้แต่ระบบโดยรวมขององค์กรทั้งหมด ในขณะที่ระบบดีเอสเอสเป็นชุดของเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ ได้
3.ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู่ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบกับผู้ใช้ทันที
4.ระบบเอ็มไอเอสจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอาเอาจะให้สารสนรเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง

5.3 ความแตกต่าง EIS กับ DSS
EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้
DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


1. ข้อมูล (Data) แตกต่างจากสารสนเทศ ( Information) 
ข้อมูล (Data)
คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อมูลสามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ หรือสิ่งรอบๆ ตัว
สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสม และถูกต้อง จนได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการของผู้ใช้  และการประมวลผล (Process) อาจเกิดจากกิจกรรม ต่อไปนี้การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูลการจัดเรียงข้อมูลการสรุปผลการคำนวณฯลฯ

2.ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
 LAN   (Local Area Network)                 
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ในส่วนต่างๆขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ใน(อาคารเดียวกัน ระหว่างชั้นอาคาร สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น
MAN (metropolitan area network) 
เป็นเครือข่ายที่ติดต่อภายในของผู้ใช้ด้วยทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ในด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หรือภูมิภาคขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแบบ LAN แต่เล็กกว่าเครือข่ายแบบ WAN คำนี้ใช้กับการติดต่อภายในเครือข่ายในเมืองเป็นเครือข่ายเดี่ยวขนาดใหญ่ และใช้กับวิธีการติดต่อของเครือข่าย LAN หลายเครือข่ายโครงการเชื่อมด้วยสาย backbone เดียวกัน การใช้บางครั้งอ้างถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัย
WAN
ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
Cyberspace
             ไซเบอร์สเปซคำซึ่งใช้ในความหมายทางจินตภาพของระบบเครือข่าย และมักใช้สื่อหมายถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะพื้นที่อิเล็กทรอนิกส์หรือภูมิประเทศเสมือนที่อยู่บนการสื่อสารแบบออนไลน์ คำนี้มีที่มาจากนวนิยายที่วิลเลียม กิปสัน เขียนไว้เรื่อง Neuromancer ในปี 1984 เป็นสถานที่เกิดเหตุในความคิดที่นำพามาโดยโมเด็ม อยู่ในโลกของคอมพิวเตอร์ออนไลน์และสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์ขอบเขตหรือบริเวณเชื่อมต่อกันได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอินเทอร์เน็ต
Mainframe
            Mainframe (เมนเฟรม) เป็นคำด้านอุตสาหกรรมสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งผลิตโดยบริษัทขนาดใหญ่ เช่น IBM สำหรับการใช้งานทางธุรกิจในวัตถุประสงค์การคำนวณขนาดใหญ่ ในอดีตเมนเฟรม เป็นการคำนวณแบบส่วนกลาง ปัจจุบัน IBM อ้างถึงโพรเซสเซอร์ขนาดใหญ่ ในฐานะแม่ข่ายขนาดใหญ่ และสามารถใช้สำหรับผู้ใช้แบบกระจาย และแม่ข่ายขนาดเล็ก ในระบบเครือข่าย
Microcomputer
            ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรืดเรียกว่า พีซี

(Personal computer: PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นบนเครือข่าย


3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
 1. นักเขียนโปรมแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (programmer)
           ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรมแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร
2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst)
           ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย
3. ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database administrator)
          ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล (database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้
4. ผู้ดูแลและบริหารระบบ(system administrator)
          ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฎิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ความคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย

 4. ระบบการสื่อสารในชีวิตประจำวัน                 
โทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
 ส่วนประกอบระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Mobile Telephone System: CMTS)
1. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Telephone Exchange: MTX)
 2. สถานีฐาน (Radio Base Station (RBS): BS)
 3. ระบบสื่อสัญญาณ (Transmission System: TS)
 4. เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Station: MS)

5. ผลกระทบเทคโนโลยีสารสนเทศ
              เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลกระทบต่อทุกด้านของชีวิตมนุษย์ ทั้งทางด้านอยู่อาศัย,เทคโนโลยีการผลิตอาหาร, ทางการแพทย์, และ การผลิตข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ผลกระทบต่อขั้นของอาชีพ IT อาจจะมีผลกระทบต่ออาชีพอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนในอดีตพนักงานจะพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพ มีความชำนาญสูง เพิ่มความสามารถ สั่งสมประสบการณ์ให้กับตัวเอง ต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะได้รับพิจารณาในการเลื่อนขั้นตำแหน่งงาน ปัจจุบันความรู้ด้าน IT มีบทบาทต่อสายอาชีพเป็นอย่างมาก หากมีความรู้ด้าน Web-base การเขียนโปรแกรม การใช้ชุดคำสั่ง การออกแบบหรือมีความสามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ก็จะช่วยล่นระยะเวลาในการเลื่อนขั้น มีโอกาสก้าวหน้าเร็วขึ้น

6. แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต               
ในทางธุรกิจ การซื่อขายและภายใต้ความเจริญทุกรูปแบบ ความเชื่อมั่นในความคิดของผู้นำประเทศ การแข่งขันในทุกกรณี ไม่มีที่สิ้นสุด มีการเอาชนะกันด้วยความไร้เหตุผล การไม่เคารพ...ไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การไม่อยู่ในกรอบวิธีที่เป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ สภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง จากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตรทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องยุคของคอมพิวเตอร์




ยุคของคอมพิวเตอร์


ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

               อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)


มาร์ค วัน


 

                อินิแอค                        
                                                                            

ยูนิแวค

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

               คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3              
               คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


                                                             


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4              
               คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง


                                                                        



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5              
               คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง





ข้อมูลโดยwww.chandra.ac.th
-

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

 

ประวัติส่วนตัว

 

ชื่อเล่น ดิว


เกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2535 อายุ 20 ปี


ราศี พฤษภ หมู่โลหิต O


สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ




ประวัติด้านการศึกษา

สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านขอนแก่น
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
ปัจจุบันกำลังศึกษาที่ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา สถาบันพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม


งานอดิเรก

เล่นเกมส์
ฟังเพลง
ออกกำลังกาย
จีบสาว
ทำกับข้าวเพื่อไปสู้กับเชฟกะทะเหล็กแห่งประเทศไทย


คติประจำใจ

ไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อย


ความใฝ่ฝันในอนาคต

เป็นครูที่ดีของสังคม และเป็นผู้นำครอบครัวที่ดี