วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้เล็กๆน้อย ในวันนี้จะมานำเสนอในหัวข้อเรื่อง ระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน




1. ลักษณะของข้อมูลที่ดีมีองค์ประกอบ 4 ประการด้วยกัน
       1.1 มีความถูกต้อง (Accuracy) ข้อมูลมีความถูกต้องตามความเป็นจริง ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงของข้อมูลได้ ผู้เก็บข้อมูลต้องไม่มีความเอนเอียง ไม่ชี้นำไปในทางใดทางหนึ่ง
       1.2 ความสมบูรณ์ (Completeness) ข้อมูลมีความครบถ้วน ทั้งรายการและจำนวน ทุกด้านข้อมูลต้องไม่ขาด หรือไม่เกิน
       1.3 ทันต่อเวลา (Timelines) ข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัย (Up to date) และทันตามกำหนดเวลาที่จะนำไปใช้งาน
       1.4 ความเหมาะสมกับการประมวนผล ข้อมูลที่ได้มาไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด้ก็ตาม เมื่อจะนำมาประมวนผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ สามารถบันทึกข้อมูลเข้าไปได้


2. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล และตัวอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ (Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
1. ข้อมูล (Data) ข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ
เบ็ดเสร็จ (Integrate) ฐานข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มต่าง ๆ ไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อลดข้อมูลซ้ำซ้อนระหว่างแฟ้มใช้ร่วมกันได้ (Share) ข้อมูลแต่ละชิ้นในฐานข้อมูลสามารถนำมาแบ่งใช้กันได้ระหว่างผู้ใช้ต่าง ๆ ในระบบ
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบด้วย อุปกรณ์บันทึกข้อมูลเช่น จานแม่เหล็ก , I/O device , Device controller , I/O channels , หน่วยประมวลผล และหน่วยความจำหลัก
3. ซอฟต์แวร์ (Sorftware) ตัวกลางเชื่อมระหว่างฐานข้อมูลและผู้ใช้คือ DBMS เป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดของระบบฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังมี Utility , Application Develoment tool , Desisn aids , Report writers , ect.
4. ผู้ใช้ (Users) มี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
Application Programmer เขียนโปรแกรมประยุกต์
End Users ผู้ใช้ที่อยู่กับ Online terminal เข้าถึงข้อมูลโดยผ่านโปรแกรมประยุกต์ หรือผ่านภาษาเรียกค้น (Query Language)
Data Addministrator & Database Administrator



3. ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล
 1.ทำให้ข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้
2.สามารถควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลได้ดี
3.การพัฒนาและบำรุงรักษา สามารถกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานได้
4.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
5.สามารถหลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
6.สามารถรักษาความถูกต้องของข้อมูลในระบบ
7. มีความเป็นอิสระของข้อมูล
8. มีทฤษฎีที่สนับสนุนการทำงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์



4. ความหมายของระบบสารสนเทศ
4.1  MIS  (Management Information Systems)  คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DPของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยน ข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน
 
4.2  DSS (Decision Support Systems) คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ   เป็นระบบที่ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการตัดสินใจ โดยการนำการประมวลผลในระบบMISมาประกอบกาานำ สารสนเทศจากภายนอกมาประกอบในการสร้างเครื่องมือ
 
4.3  ES (Expert Systems-ES) คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ  เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทำหน้าที่ทำการวิเคราะห์ง านเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ในระดับ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะจะต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์เฉพาะเรื่องนั้นๆ มาทำการสร้างฐานข้อมูลก่อน ระบบนี้จึงจำเป็น ต้องอาศับบุคลากรที่มีความรู้เฉพ ะ ด้านในการทำงาน เช่นงานด้านการวินิจฉัย ทางการแพทย์ การพยากรณ์อากาศ การส่งดาวเทียม งานซ่อม เป็นต้น
 
4.4  DP(Data Processing System ) คือ ระบบประมวลผลข้อมูล  เป็นระบบการประมวลผลข้อมูลประจำวันในลักษณะของการจัดการ เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รายงานของงาน ประจำวัน เช่น รายงานยอดการเช่าของวีดีโอของทุกวัน ก่อนทำการปิดบัญชีประจำวัน

 4.5  EIS  (Executive Information System) คือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบที่มีหลักการทำงานเหมือนกับระบบ DSSที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุน ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารแต่ในระบบนี้จะมีความแตกต่างกันในส่วนของขนาด ของหน่วยงาน ซึ่งขนาดหน่วยงาน ทีใหญ่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็วกว่า และทำการ เรียกข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ที่ต้องการซึ่งมีการเชื่อมโยงของระบบ เครือข่าย ใยแมงมุมทั่วโลก (Internet System )


5. ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ 
5.1  ความแตกต่างของMIS กับ DP
MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก แต่ DP จะเป็นระบบประมวลผลข้อมุลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด

5.2 ความแตกต่างของ DSS และ MIS
1.ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบให้สามารถจัดการเฉพาะกับปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างหรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน
2.ระบบเอ็มไอเอสจะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลังหรือแม้แต่ระบบโดยรวมขององค์กรทั้งหมด ในขณะที่ระบบดีเอสเอสเป็นชุดของเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ ได้
3.ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู่ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบกับผู้ใช้ทันที
4.ระบบเอ็มไอเอสจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอาเอาจะให้สารสนรเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง

5.3 ความแตกต่าง EIS กับ DSS
EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้
DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น